โรคร้ายของระบบทางเดินอาหาร

โรคท้องเสียที่มากับหน้าร้อน (Diarrhea)

ท้องเสีย

ท้องเสีย หรือท้องร่วงเป็น โรคที่พบได้บ่อย ๆ ในบ้านเรา โดยเฉพาะในช่วงฤดูร้อนนี้จะพบว่าทั้งเด็กและผู้ใหญ่จะมีอาการท้องเสียกันมาก ขึ้น ซึ่งความรุนแรงของท้องเสียนั้นอาจเป็นเพียงเล็กน้อย ที่สามารถหายเองหรือเป็นรุนแรง จนกระทั่งมีอาการขาดน้ำ และเกลือแร่ จนถึงแก่ชีวิตได้

อย่างไรถึงเรียกว่า ท้องเสียปกติ

ลักษณะนิสัยในการถ่ายอุจระของแต่ละคนจะแตกต่างกันไป ทั้งความบ่อย และปริมาณของอุจจาระ แต่ถ้าพบว่ามีการถ่ายอุจจาระบ่อยขึ้นกว่าปกติ หรือมากกว่า วันละ 3 ครั้ง หรืออุจจาระมีปริมาณมากขึ้น หรือผิดไปจากเดิมคือของเหลวหรือน้ำมากกว่าเดิมถือว่าบุคคลนั้นเป็นโรคท้อง เสีย

ท้องเสียมีกี่ชนิด อะไรบ้าง

ท้องเสีย สามารถแบ่งได้ 2 ชนิดใหญ่ คือ ท้องเสียชนิดเฉียบพลัน และท้องเสียชนิดเรื้อรัง ซึ่งทั้ง 2 ชนิดมีลักษณะแตกต่างกันดังนี้

1. ท้องเสียชนิดเฉียบพลัน หมายถึงท้องเสียที่มีระยะฟักตัวสั้น และมีอาการไม่น่านหรือระยะเวลาเป็นวัน ไม่เกิน สัปดาห์ มักมีสาเหตุมาจาก

    * การได้รับเชื้อเข้าสู่ร่างกาย ที่มีทั้งไวรัส และแบคทีเรีย
      บิด หมายถึง อาการถ่ายเป็นมูกหรือมูกปนเลือดบ่อยครั้งร่วมกับอาการปวดเบ่งที่ทวารหนักคล้ายถ่ายไม่สุด
          o บิดชนิดไม่มีตัว มีสาเหตุมาจากเชื่อแบคทีเรียอาการท้องเสียรุนแรงร่วมกับมีไข้
          o บิดชนิดมีตัว มีสาเหตุมาจากเชื้อ โปรโตซัวไม่ค่อยมีอาการไข้ ไม่อ่อนเพลีย แต่อุจจาระจะมีกลิ่นเหม็น เหมือน หัวกุ้งเน่า
  Diarrhea 
    * อาหารเป็นพิษ เกิดจากการบริโภคอาหารที่มีเชื้อแบคทีเรียอยู่ในอาหาร
มักพบในผู้ป่วยหลาย ๆ คนซึ่งรับประทานอาหารชนิดเดียว พร้อม ๆ กัน จะมีอาการท้องเสียรุ่นแรงในระยะเวลาอันสั้น หลังจากรับประทานอาหารมีอาเจียนร่วมด้วย
    * สาเหตุอื่น ๆ เช่น อาการจำพวกนม หรือสารให้ความหวาน ยาบางชนิด สารเคมี หรือโลหะหนักหรือพืชบางชนิด อาจจะทำให้เกิดอาการท้องเสียชนิดเฉียบพลันได้

2. ท้องเสียชนิดเรื้อรัง หมายถึงท้องเสียที่มีอาการติดต่อกันนานเป็น ๆ หาย ๆ มาเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือน เป็นปี มีสาเหตุมาจาก
  • อารมณ์ เกิดจากการผิดปกติของการทำงานของลำไส้ใหญ่ เวลามีอารมณ์เครียด เช่น เวลาสอบหรือเดินทาง แต่ไม่เป็นอันตราย
  • ความผิดปกติของเมตาบอลิซึ่ม เช่น ท้องเสียในผู้ป่วยที่มีไธรอยด์ฮอร์โมนสูงกว่าปกติ
  • การดูดซึมผิดปกติ ก็เป็นสาเหตุของท้องเสียเรื้อรังในผู้ป่วยบางรายได้เช่นกัน


วิธีการรักษาโรคท้องเสีย


   1. การให้ของเหลวทดแทน เนื่องจากผู้ป่วยมีการสูญเสียน้ำ และเกลือแร่ จึงจำเป็นต้องให้น้ำและเกลือแร่เข้าไปทดแทน เช่น น้ำเกลือผง (ORS) อาจจะเตรียมน้ำเกลือผสมเอง โดยใช้น้ำสุก 1 ขวด ผสมกับน้ำตาลทราย 1 ช้อนโต๊ะ และเกลือป่นครึ่งช้อนชา ให้ผู้ป่วยดื่มแทนน้ำ
   2. งดอาหารแข็ง, อาหารรสจัด หรืออาหารที่มีกากมาก ๆ โดยหู้ป่วยรับประทานอาหารเหลว เช่น ซุป หรือข้าวต้มควรหลีกเลี่ยงนม และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอลล์
   3. การใช้ยาแก้ท้องเสีย เช่น ยาประเภทฝิ่น ยาเหล่นนี้ จะไปหยุดการเคลื่อนไหวของลำไส้ ทำให้อาการท้องเสียบรรเทา ในกรณีที่ท้องเสียเกิดจากการติดเชื้อ ไม่ควรใช้ยากลุ่มนี้
   4. การใช้ยาปฏิชีวนะ จะใช้ในกรณีที่ทราบเชื้อที่เป็นสาเหตุของท้องเสีย เช่น เชื้อบิดไม่มีตัวการใช้ยาปฏิชีวนะจะช่วยให้ระยะเวลาที่ท้องเสีย และอาการไข้สั้นลงได้ หากท้องเสียเกิดจากอาหารเป็นพิษหรือเชื้อไวรัส ยานี้ไม่ช่วยบรรเทาอาการได้เลย

วิธีป้องการโรคท้องเสีย


   1. บริโภคน้ำ และอาหารที่สะอาด และผ่านการปรุงที่ถูกต้อง
   2. เตรียมอาหารและเก็บอาหาร เช่น แช่แข็ง ตาก ดอง อย่างถูกต้องตามกรรมวิธี โดยคำนึงถึงความสะอาดเป็นหลัก
   3. ในกรณีที่ต้องเดินทางไปต่างถิ่น การใช้ยาปฏิชีวนะป้องกัน จะช่วยลดโอกาส การเกิดท้องเสียในนักเดินทางได้


ไวรัสตับอักเสบ เอ (Hepatitis A)


VIRUS A โรคไวรัสตับเอกเสบ เอ คืออะไร

โรคไวรัสตับอักเสบ เอ หรือ ดีซ่านหรือโรคไวรัสลงตับ เกิดจากการอักเสบของเซลล์ตับ ทำให้ตับทำงานได้ไม่เต็มที่ หรือน้อยลงเป็นผลให้เกิดการเจ็บป่วยโรคตับอักเสบเกิดได้จากหลายสาเหตุแต่ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสโดยเชื้อไวรัสที่พบบ่อยคือเชื้อไวรัสตับอักเสบ เอ และ บี อาการส่วนใหญ่ที่พบมักมีอาการตัวเหลืองตาเหลือง หรือโรคดีซ่านแบบเฉียบพลันประมาณร้อยละ 60-70% ของผู้ป่วยมักเกิดจากเชื้อไวรัสตับอักเสบเอ

 


อาการของโรควัสตับอักเสบ เอ

โรคไวรัสตับอักเสบ เอ ในเด็กมักไม่มีอาการหรือมีแต่ก็ไม่ได้รุนแรงอย่างไรก็ตามบางครั้งอาจพบอาการรุนแรงได้ เน อาการตาเหลือง ตัวเหลืองเป็นเวลานาน ตับอักเสบอย่างรุนแรงจนตับวาย อาจเป็นผลทำให้เสียชีวิตได้ อาการจะรุนแรงมากขึ้นตามอายุ ในผู้ใหญ่ถ้าเป็นโรคไวรัสตับอักเสบ เอ ส่วนใหญ่มีอาการรุนแรงมากกว่า อาการมักจะเริ่มต้นด้วยมีไข้ปวดเมื่อยตามเนื้อตามตัวอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียนหลังจากนั้นประมาณ 3-5 วัน จะเริ่มปัสสาวะสีเข้ม และมีไข้ตาเหลือง ตัวเหลืองปวดท้องบริเวณชายโครงด้านขวา การดำเนินโรคส่วนใหญ่ใช้เวลาประมาณ 2 – 4 สัปดาห์ โรคไวรัสตับอักเสบ เอ เป็นโรคที่ไม่มีการรักษาโดยเฉพาะ การรักษาส่วนใหญ่เป็นการรักษาตามอาการ และการพักผ่อน

โรคไวรัสตับเอกเสบ เอ ติดต่อกันได้อย่างไร

เชื้อไวรัสตับอักเสบ เอ ติดต่อโดยการรับประทานอาหาร และดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัสตับอักเสบ เอ ดังนั้นจึงพบการระบาดของโรคนี้ได้ในโรงเรียน, มหาวิทยาลัย และชุมชน บ่อยครั้งพบว่าเด็กเป็นตัวแพร่เชื้อไปสู่ผู้ใหญ่ในครอบครัวเดียวกัน ผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบ เอ สามารถแพร่เชื้อได้โดยพบเชื้อนี้ปนเปื้อนในอุจจาระประมาณ 2 สัปดาห์ก่อน และหลังแสดงอาการ ดังนั้นผู้ป่วยจึงสามารถแพร่เชื้อไปได้ก่อนที่จะทราบว่าตัวเองป่วยเป็นโรคไวรัสตับอักเสบ เอ นอกจากนี้เชื้อไวรัสตับอักเสบ เอ ยังอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นานหลายสัปดาห์

เราจะป้องกันในครอบคัวจากโรคไวรัสตับอักเสบ เอ ได้อย่างไร

ในอดีตคนไทยส่วนใหญ่มักมีภูมิคุ้มกันโรคตับอักเสบ เอ แล้วเพราะได้รับการติดเชื้อตั้งแต่เด็ก อย่างไรก็ตามการสาธารณะสุข และการสุขาภิบาลของประเทศไทยในปัจจุบันดีขึ้นอย่างมาก จึงทำให้การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ เอ ในเด็ก และวัยรุ่นได้ลดลงอย่างมาก ทุกวันนี้เด็กไทยจำนวนมากที่ไม่เคยติดเชื้อนี้มาก่อนจึงไม่มีภูมิคุ้มกันต่อโรคนี้ และเสี่ยงที่จะป่วยเป็นโรคไวรัสตับอักเสบ เอมากขึ้น (รวมทั้งอาการที่พบในวัยหนุ่มสาว และผู้ใหญ่มักจะรุนแรง)

โรคไวรัสตับอักเสบ เอ สามารถป้องกันได้

ดูแลสุขภาพอนามัยของต้นและชุมชนให้ถูกต้อง
  • รับทานอาหารและน้ำที่สะอาด
  • ล้างมือก่อนรับประทานอาหารและควรใช้ช้อนกลาง
  • ขับถ่ายในส้วมที่ถูกสุขลักษณะ
  • กำจัดขยะ และสิ่งปฏิกูลเพื่อมิให้ปนเปื้อนไปสู่แหล่งน้ำและอาหารของชุมชนได้

ใครบ้างที่ควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบ เอ
  • เด็กและผู้ใหญ่ในพื้นที่ที่มีโรคนี้ชุกชุม
  • นักศึกษาหรือนักธุรกิจ ที่ต้องเดินทางไปในบริเวณที่มีโรคนี้ชุกชุม
  • เด็กที่อาศัยในสถานเลี้ยงเด็กอ่อนหรือสถานเลื้อยงเด็กที่รวมกันเป็นจำนวนมาก, สถานดูแลเด็กวัยรุ่น, เด็กพิการ และคนชรา
  • ผู้ที่ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเช่น
    • ผู้ประกอบอาหาร
    • พนักงานที่ดูแลสถานพยาบาล ดูแลเด็กอ่อน, เด็กวัยรุ่น, เด็กพิการ และคนชรา
    • ผู้ที่มีหน้าที่กำจัดสิ่งปฏิกูล และการบำบัดน้ำเสีย
  • ผู้ที่มีความเสี่ยงสูง
    • ผู้ป่วยโรคอีโมพิเรีย, ผู้ได้รับเลือดบ่อย ๆ
    • ผู้ติดยาเสพติดที่ฉีดเข้าเส้น , บุคคลรักร่วมเพศ

virus a
เมื่อไหร่ควรฉีดวัคซีนป้องกัน

การฉีดวัคซีนป้องกัน ควรฉีดในเด็กตั้งแต่อายุ 2 ขวบเป็นต้นไป ก่อนเข้าอนุบาลหรือโรงเรียนประถมศึกษานอกจากนี้ในกรณีทีท่านต้องเดินทางไปในพื้นที่ ๆ มีโรคนี้ชุกชุมโดยปกติภายหลังการฉีดวัคซีนร่างกายจะใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์ในการสร้างภูมิคุ้มกันจนสามารถป้องกันได้

การฉีดวัคซีนจะฉีด 2 เข็ม ห่างกัน 6-12 เดือน (ฉีดวันนี้และอีกครั้งตอน 6-12 เดือนข้างหน้า) โดยครั้งที่ 2 ต้องการให้ภูมิต้านทานอยู่นาน
โดยวัคซีนชนิดใหม่ ๆ นี้สามารถฉีดป้องกันโรคได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ในขนาดเดียวกันจึงประหยัดกว่าวัคซีนชนิดเดิม


ข้อมูล โรคไวรัสตับอักเสบ เอ : โรงพยาบาลเปาโล เมโมเรียล โทร. 02-2797000-9
วันที่ 4 พฤศจิกายน 2551
picture from :
- http://news.bbc.co.uk/1/shared/spl/hi/health/03/travel_health/diseases/html/hepa.stm
- http://www.nlm.nih.gov/MEDLINEPLUS/ency/imagepages/9394.htm


ไส้ติ่งอักเสบ Appendicitis


ไส้ติ่ง หรือ Appendix 
นี้ มีรูปร่างเหมือนตัวหนอน ห้อยออกมาจากส่วนของลำไส้ใหญ่ที่เรียกว่า Cecum ไม่มีประโยชน์อะไรต่อการย่อยอาหาร แต่นาน ๆ ที มันก็เกิดอักเสบขึ้นมา

โรคไส้ติ่งอักเสบหรือไส้ตันนี้ ทุกคนที่อยู่เมืองนอก ควรรู้จักอาการเอาไว้ เพราะอาจเกิดขึ้นได้กระทันหัน ในเวลาที่เรานึกว่าสุขภาพของเราดี โรคนี้เริ่มต้นด้วยอาการปวดท้อง ตอนแรกปวดตรงกลางสะดือ ไม่กี่ชั่วโมงต่อมา จุดปวดนี้ค่อย ๆ ย้ายมาอยู่ที่ท้องน้อยด้านขวา ถ้าเราเอามือกดตรงส่วนนี้ของหน้าท้อง จะยิ่งรู้สึกเจ็บมากขึ้นจนแทบทนไม่ได้ ผู้เป็นมักจะมีไข้ขึ้นและอาเจียนติด ๆ กันหลายคน บางคนหยุดถ่าย แต่บางคนก็ท้องเดิน ถ้ามีอาการเช่นนี้ ต้องรีบไปโรงพยาบาล ให้แพทย์เขาตรวจดูทันที เพราะถ้าไส้ติ่งอักเสบจริง จะต้องทำการผ่าตัดก่อนที่ไส้ติ่งจะทะลุแตกในท้อง และเป็นอันตรายต่อชีวิตได้

การผ่าไส้ติ่งนี้ ไม่ใช่เรื่องยากหรืออันตราย เมื่อแพทย์เขาตัดตัวไส้ติ่งที่อักเสบนั้นทิ้งไป อาการปวดท้องและอาเจียนก็จะหยุดลง หลังจากนั้นประมาณ 2 อาทิตย์ สุขภาพของท่านก็จะดีตามเดิม



ลักษณะทั่วไป

ไส้ติ่งอักเสบ เป็นโรคที่พบได้บ่อยที่สุดในผู้ป่วยที่มีอาการปวดท้องรุนแรงที่ต้องผ่าตัด หากพบมี
อาการปวดเจ็บตรงท้องน้อยข้างขวา ควรนึกถึงโรคนี้ไว้ก่อนเสมอ เป็นโรคที่พบได้บ่อยในคนทุกวัย

สาเหตุ

เกิดจากการอุตตันของไส้ติ่ง เช่น มีเศษอุจจาระตกลงไปในไส้ติ่ง ทำให้มีเชื้อเบคทีเรียเข้าไปทำให้
เกิดการอักเสบ

อาการ

มักมีอาการปวดท้องมาก เริ่มแรกอาจปวดเป็นพัก ๆ รอบสะดือคล้ายโรคกระเพาะ หรือท้องเดิน อาจ
จะเข้าส้วมบ่อย แต่ถ่ายไม่ออก บางคนอาจสวนด้วยยาถ่าย แต่บางคนก็อาจมีอาการท้องเดินร่วมด้วย
อาการปวดถึงแม้จะกินยาแก้ปวดอะไรก็ไม่หาย ต่อมาอีก 3-4 ชั่วโมง อาการปวดจะย้ายมาที่ท้องน้อย
ข้างขวา ลักษณะปวดเสียดตลอดเวลา   ต้องนอนนิ่ง ๆ    เคลื่อนไหวตัวจะทำให้ปวดมาก   ผู้ป่วยจะ
มีอาการคลื่นไส้อาเจียนและมีไข้ต่ำ ๆ บางคนถ้าเป็นมากต้องนอนงอขาตะแคงไปข้างหนึ่ง หรือเวลา
เดินต้องเดินตัวงอจึงจะรู้สึกสบายขึ้น อาการจะเป็นอยู่นับชั่วโมงถึงหลายวัน บางคนอาจมีอาการ
ปวดท้องน้อยข้างขวา โดยไม่มีอาการอื่นนำมาก่อนเลยก็ได้ ในเด็กประวัติอาการอาจไม่แน่นอน

สิ่งตรวจพบ

ไข้ต่ำ ๆ (37.5-38 ํซ. มักไม่เกิน 38.5 ํซ.) บางคนอาจไม่มีไข้ ลิ้นเป็นฝ้าหนา กดเจ็บตรงท้องน้อยข้าง
ขวา โดยเฉพาะตรงจุดไส้ติ่ง หรือจุดแม็กเบอร์เนย์ถ้าใช้มือค่อย ๆ กดตรงบริเวณนั้นลึก ๆ แล้วปล่อย
มือทันทีให้ผนังหน้าท้องกระเด้งกลับทันที ผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บมาก เรียกว่า อาการกดปล่อยแล้วเจ็บ
(rebound tenderness) ถ้าไส้ติ่งแตก จะมีอาการปวดเจ็บทั่วบริเวณท้องน้อย ท้องแข็ง อาจคลำได้
ก้อน และไข้สูง

ข้อแนะนำ

1. คนที่มีอาการปวดเหนือสะดือคล้ายโรคกระเพาะ ถ้ากินยาแล้วไม่ดีขึ้น อาจเป็นไส้ติ่งอักเสบระยะแรกได้
2. คนที่มีไข้สูงนำมาก่อนหลายวันแล้วค่อยปวดท้องคล้ายไส้ติ่งอักเสบ อาจเป็นอาการของไข้ไทฟอยด์ ได้
3. อาการของไส้ติ่งอักเสบ อาจไม่มีไข้ หรืออาการอย่างอื่นนำมาก่อนก็ได้
4. ในผู้หญิง ถ้ามีอาการปวดท้องน้อยข้างขวา และมีไข้สูงหนาวสั่นตั้งแต่ระยะเริ่มแรก อาจเป็นปีก
    มดลูกอักเสบ

รายละเอียด

ถ้ามีอาการปวดและกดเจ็บตรงท้องน้อยข้างขวา ควรนึกถึงโรคไส้ติ่งอักเสบไว้เสมอ


อ้างอิงข้อมูลจาก http://www.thailabonline.com/section51.htm#ไส้ติ่งอักเสบ
picture from:http://health.howstuffworks.com/appendix2.htm



รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

ติชม


ต้องการให้คะแนนบทความนี้่ ?

สร้างโดย :


sasi

สถานะ : ผู้ใช้ทั่วไป
คอมพิวเตอร์ธุรกิจ